สังคมไทยในภาพรวมกำลังก้าวเข้าสู่สังคมที่เรียกว่า ‘สังคมผู้สูงอายุ’ เนื่องจากอัตราการเหิดที่น้อยลง และคนในสังคมที่เริ่มมีอายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเล็กหรือครอบครัวใหญ่จำนวนไม่น้อยในสังคมไทยเราก็มักจะประกอบไปด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้สูงอายุอย่างน้อยหนึ่งคน เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันไม่เพียงแต่เรื่องของความห่างของช่วงวัย
แต่ยังรวมไปถึง 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจซึ่งอาจจะกลายมาเป็นหนึ่งใจตะกอนของความขุ่นมัวที่เกิดขึ้นในครอบครัว จนสร้างบาดแผลทางจิตใจให้กับทั้งตนเองและผู้สูงอายุได้โดยคาดไม่ถึง ดังนั้นการพยายามทำความเข้าใจตลอดจนหาแนวทางในการรับมือกับปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราอยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจกันให้มากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยสูงอายุด้านจิตใจและอารมณ์
ช่วงวัยผู้สูงอายุนอกจากมีความน่าเป็นหวงในเรื่องสุขภาพในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมากแล้ว ในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยสูงอายุด้านจิตใจและอารมณ์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจอย่างที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดจนเพื่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุอีกด้วย เนื่องจากคนในวัยนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านทางด้านร่างกาย
รวมไปถึงอารมณ์ที่ยากต่อการควบคุมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอารมณ์หงุดหงิด, ขี้ระแวง, วิตกกังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ความคิดมากหรือจะเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าก็ตาม นอกจากนั้นในเรื่องของความเจ็บป่วยที่รุมเร้าเข้ามาก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้สภาวะทางอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปได้อีกด้วย
อยู่ร่วมกันอย่างไรเมื่อต้องเจอ 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจ
จากที่เราได้กล่าวไปแล้วว่าปัญหาในเรื่องของจิตใจและอารมณ์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิด 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจและเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรวมไปถึงพยายามทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรกระทำ โดยวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรับมือกับ 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจก็มีอยู่หลายวิธี เช่น
- คอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงและพยายามพูดคุยกับผู้สูงอายุให้มากขึ้น
- หากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อผ่อนคลายความเครียดหรือความเศร้า
- ให้เกียรติในความแตกต่างของตัวเองและผู้สูงวัยไม่ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงเมื่อเกิดความไม่เข้าใจกัน
- พยายามไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ
- หาตัวช่วยหรืออุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตให้กับผู้สูงอายุ
6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจมีอะไรบ้าง
1. ชอบย้ำคิดย้ำทำหรือถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ
มาเริ่มกันที่ 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจในข้อแรกกันก่อน ซึ่งครอบครัวไหนที่มีสมาชิกซึ่งเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุก็อาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในข้อนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อเริ่มเข้าสูงวัยสูงอายุด้วยประสิทธิภาพในการทำงานของสมองที่จะต้องมีความเสื่อมไปตามระยะเวลาการใช้งาน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงมักมีอาการหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น, ลืมคนที่เคยรู้จัก, ลืมกิจกรรมที่กำลังจะทำ, หรือลืมว่าตนเองเคยพูดคุยหรือถามคำถามอะไรกับใครไปบ้างแล้ว จนกลายเป็นปัญหาในเรื่องของการทำอะไรซ้ำ ๆ เพราะคิดว่ายังไม่ได้ทำ
ซึ่งมันก็อาจจะสร้างความรำคาญใจให้กับหลายที่ไม่เข้าใจ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอย่างอาการหลงลืมนี้ก็ต้องอาศัยความใส่ใจดูแลจากบุตรหลาน หรือจะเริ่มป้องกันตั้งแต่วันนี้ด้วยการบำรุงสมองอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือจะเลือกทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงสมองที่สามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ของร้าน Dowell สินค้าสุขภาพได้เลยง่าย ๆ สั่งได้ตลอด 24 ชั่วโมงก็ได้เช่นเดียวกัน
2. ฉุนเฉียวง่ายขี้หงุดหงิด
การแสดงพฤติกรรมฉุนเฉียวหรือโมโหง่ายขี้หงุดหงิดเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของฮอร์โมนในผู้สูงอายุและความเครียดสะสมจากโรคที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญอยู่ เพราะฉะนั้นคนในวัยนี้จึงมักแสดงอาการฉุนเฉียวได้ง่ายมากกว่าเมื่อสมัยยังเป็นหนุ่มสาว โดยเมื่อคนเราเข้าสู่ช่วงวัยประมาณ 45-50 ปี ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและสภาวะความมั่นคงทางจิตใจ ทำให้อารมณ์เริ่มแปรปรวนควบคุมตนเองได้ยาก ดังนั้นหากใครที่ต้องอาศัยร่วมกันกับผู้ที่มีสภาวะทางอารมณ์ดังกล่าวก็อาจจะต้องพยายามทำความเข้าใจและยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้นั่นเอง
3. มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ
หนึ่งใน 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจอย่างการเรียกร้องความสนใจอาจจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและสถานการณ์ เพราะในบางครั้งการกระทำที่ผู้สูงอายุแสดงออกมาก็ไม่ได้ทำให้เรารู้ในทันทีในสิ่งที่พวกท่านต้องการ จนกลายเป็นตะกอนสะสมภายในใจและกลายเป็นความคิดมากว่าลูกหลายไม่รัก ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะเคยประสบพบเจอกับตัวเองกันมาบ้างแล้ว ซึ่งตัวอย่างของพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจก็ได้แก่การพูดตัดพ้อ, ประชดประชัน, เก็บตัว, ไม่พูดคุยกับใครเป็นต้น
4. ไม่ชอบไปโรงพยาบาล
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุซึ่งทำให้หลายครอบครัวปวดหัวกันมาไม่น้อย เนื่องจากผู้สูงอายุจะเป็นวัยที่จะกลับไปมีความ ‘ดื้อ’ เหมือนตอนเป็นเด็กอีกครั้ง ซึ่งความดื้อนี้ก็จะมีอยู่หลากหลายกรณีอย่างเช่นเรื่องของการไม่ชอบไปโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นลูกหลานที่ต้องดูแลจึงมีความเป็นห่วงและต้องมีปากเสียงกันอยู่บ่อยครั้ง ก่อเกิดเป็นความไม่เข้าใจกันและทำให้กลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตขึ้นได้
ดังนั้นใครที่มีความกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ก็อาจจะลองหาซื้ออุปกรณ์การแพทย์เบื้องต้นอย่างเครื่องวัดน้ำตาลหรือเครื่องวัดความดันสำหรับใช้ในบ้านมาติดเอาไว้เพื่อตรวจประเมินอาการเบื้องต้นของผู้สูงอายุก่อนว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคอันตรายหรือไม่ หรือไม่ก็ให้ทำการค่อย ๆ เกลี้ยกล่อมเพื่อพาท่านไปตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ควรใช้คำพูดที่รุนแรงหรือใช้อารมณ์กับผู้สูงอายุ
5. ชอบเก็บตัว อยากอยู่แต่ที่บ้าน
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่เริ่มมีความคิดมากและหลายท่านก็อาจจะมีอาการของความไม่มั่นใจร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการไม่มั่นใจในสุขภาพหรือร่างกายของตนเอง รวมไปถึงการกลัวว่าตนเองจะกลายเป็นภาระของลูกหลานจนทำให้การเดินทางไปข้างนอกหรือการออกไปเที่ยวไม่สนุก ทำให้พวกท่านเริ่มมีพฤติกรรมชอบเก็บตัวและอยากอยู่แต่ที่บ้านนั่นเอง
เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการปรับตัวและพยายามทำความเข้าใจกับหนึ่งใน 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจในข้อนี้ การลองหากิจกรรมทำร่วมกันในครอบครัวเช่นการทำอาหารทานร่วมกัน การจัดปาร์ตี้เล็ก ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวได้ผ่อนคลายไปด้วยกัน ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขและปลดล็อกตัวเองได้มากขึ้น
6. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ตื่นบ่อย นอนไม่หลับ
ปัญหาการนอนไม่หลับหรือปัญหาเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ ของผู้สูงอายุนั้น เป็นปัญหาที่อาจจะดูไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่ก็เป็นหนึ่งใน 6 พฤติกรรมผู้สูงอายุที่วัยอื่นอาจไม่เข้าใจ ซึ่งสร้างความกังวลและส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุเองไม่น้อยเลยทีเดียว โดยสาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย หรือโรคประจำตัวที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการนอน การรับประทานยาบางชนิด ตลอดจนการมีปัญหาในเรื่องของความเครียดและภาวะซึมเศร้าก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่เราทุกคนควรจะให้ความสำคัญและเฝ้าระวังด้วยเช่นกัน