การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องวัดน้ำตาลเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดด้วยตนเอง, ใช้บริการจากสถานบริการทางสุขภาพ, หรือโรงพยาบาลก็ตาม ล้วนแล้วแต่ทำให้เราสามารถคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง ตลอดจนตรวจพบผู้ที่มีภาวะของน้ำตาลในเลือดสูงได้อย่างรวดเร็ว เป็นประโยชน์ในด้านของการประเมินผลการรักษา สามารถติดตามอาการ และปรับเปลี่ยนแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ง่ายมากขึ้นด้วย 

โดยในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง ‘เครื่องวัดน้ำตาล’ ประเภทต่าง ๆ ว่าจะมีรูปแบบการใช้งานในลักษณะไหนบ้าง เพื่อที่ทุกคนจะสามารถเลือกใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานของตนเองได้ดีมากยิ่งขึ้น

ความแตกต่างของเครื่องวัดน้ำตาลแต่ละประเภท

1. เครื่องวัดน้ำตาลแบบไม่ต้องเจาะเลือด

หรือ Continuous glucose monitoring – CGM เครื่องวัดน้ำตาลในรูปแบบนี้จะมีหลักการทำงานซึ่งแปลความหมายได้ตรงตัวเลยนั่นก็คือ ‘ทำงานต่อเนื่อง’ ซึ่งเจ้าเครื่องตัวนี้จะเป็นอุปกรณ์การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แต่จะเป็นการทำงานโดยระบบเซนเซอร์ โดยทำการสอดเข้าไปบริเวณชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ส่วนใหญ่มักจะติดเอาไว้บริเวณหน้าท้องหรือบริเวณด้านหลังต้นแขน ข้อดีคือการตรวจวัดด้วยเครื่องมือนี้จะมีการแจ้งเตือนทันทีในกรณีที่ระดับของน้ำตาลในเลือดผิดปกติ

2. เครื่องวัดน้ำตาลแบบต้องเจาะเลือด

หรือ Blood Glucose Monitoring – BGM สำหรับเครื่องวัดน้ำตาลแบบพกพาในลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของอุปกรณ์ตรวจวัดค่าน้ำตาลที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถใช้งานได้เองไม่ต้องโรงพยาบาลทั้งยังสามารถพกพาไปใช้งานนอกบ้านได้ง่าย จึงสะดวกสบายต่อผู้ป่วยหรือผู้ใช้งานมากกว่าในรูปแบบแรกนั่นเอง โดยตัวเครื่องจะมีขนาดไม่ใหญ่ ทำงานโดยใช้เข็มปากกาที่บริเวณปลายของตัวเครื่องเจาะเข้าไปที่ปลายนิ้ว แล้วทำการหยดเลือดลงบนแผ่นทดสอบ

เพียงเท่านี้ก็สามารถอ่านค่าของระดับน้ำตาลในเลือดได้เลย เพราะฉะนั้นข้อดีหลัก ๆ ของการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแบบพกพานี้ก็คือสะดวกสบาย และประหยัดเวลาตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ สามารถตรวจวัดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองได้ดีมากขึ้น

รูปแบบของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจวัดน้ำตาลในแบบแรกนี้เป็นลักษณะของการตรวจค่าน้ำตาลโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 เดือนย้อนหลัง โดยจะตรวจวัดจากระดับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งถูกจับด้วยน้ำตาลกลูโคส เพราะฉะนั้นปริมาณการทานอาหาร น้ำตาล ไขมัน จะส่งผลเป็นอย่างมากกับการตรวจวัดในลักษณะนี้ โดยค่าปกติโดยเฉลี่ยของน้ำตาลสะสมไม่ควรเกิน 6 เปอร์เซ็นต์ ไม่อย่างนั้นก็จะถือว่าเริ่มมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้แล้วนั่นเอง

การตรวจวัดหาค่าน้ำตาลในเลือดประเภทต่อมาจะถูกเรียกสั้น ๆ ว่า FBS ซึ่งจะเป็นการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด ผู้ที่จะทำการตรวจวัดในแบบนี้จะต้องมีการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หากผลตรวจออกมาว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร นั่นบ่งบอกว่าเรากำลังมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานแล้ว

สำหรับใครที่เคยซื้อเครื่องวัดน้ำตาลไปใช้กันเองอยู่แล้ว ก็คงจะคุ้นเคยกันดีกับวิธีการตรวจน้ำตาลแบบ SMBG หรือก็คือการตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือดซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อประโยชน์ในด้านการหาความเสี่ยง ประเมินตนเอง และคอยเฝ้าระวังผู้ป่วยซึ่งมีอาการของโรคเบาหวานไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงกว่าที่ควรจะเป็นได้ด้วย โดยจะนิยมวัด 2 ครั้งเป็นอย่างต่ำ นั่นก็คือก่อนทานอาหารและหลังจากทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง

ใครบ้างที่จำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจเบาหวานด้วยตัวเองเป็นประจำ

หลังจากที่เรารู้ข้อมูลของเครื่องวัดน้ำตาลกันไปแล้วว่ามีทั้งหมดกี่ประเภท รวมไปถึงความแตกต่างของอุปกรณ์ที่สามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป ในหัวข้อนี้เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับคำถามที่หลายคนอยากรู้กันมากที่สุดว่า “ใครบ้างที่จำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง” ซึ่งก็ต้องบอกก่อนเลยว่าทุกคนสามารถทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อเป็นการตรวจสอบหาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเพื่อจะได้รีบเข้ารับการรักษาตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ 

แต่สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และควรจะมีการใช้เครื่องวัดน้ำตาลเป็นประจำก็ได้แก่กลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน, มีประวัติครอบครัวหรือมีญาติสายตรงเคยเป็นโรคเบาหวาน, ผู้ที่มีภาวะของโรคความดันโลหิตสูง ตลอดจนผู้ที่มีข้อบ่งชี้ต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากใครที่ต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับสัญญาณอันตรายของโรคเบาหวานได้ที่หน้าบทความของเว็บไซต์ Dowell สินค้าสุขภาพได้เลย

สรุป

เครื่องวัดน้ำตาลที่ใช้งานกันมากที่สุดในสมัยนี้จะมีอยู่ 2 ลักษณะ นั่นก็คือเครื่องวัดน้ำตาลแบบเจาะเลือดและแบบไม่เจาะเลือด โดยข้อดี ข้อจำกัด รวมถึงความสะดวกสบายของการใช้งานอุปกรณ์แต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ในการตรวจน้ำตาลในเลือดที่ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เครื่องวัดน้ำตาลแบบเจาะเลือดหรือ BGM ก็จะเป็นที่นิยมมากกว่านั่นเอง

ดูเวล สินค้าสุขภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *