ที่นอนลมเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยลดแรงกดและกระจายแรงกดทับจากร่างกายของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้ผิวหนังบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้รับแรงกดมากจนเกินไป เนื่องจากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หรือผู้ที่มีอาการซึ่งเรียกว่าอาการ ‘ติดเตียง’ และต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ จะมีปัญหาเรื่องของการกดทับจนกลายเป็นบาดแผลลุกลาม ซึ่งมีความอันตรายได้มากถึงขั้นติดเชื้อและเนื้อตายได้เลยทีเดียว 

ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการนำเอาที่นอนลมเข้ามาเป็นตัวช่วยเพื่อลดการเกิดบาแผลจากการนอนเป็นเวลานานนั่นเอง ซึ่งประเภทของที่นอนลมจะแบ่งออกเป็นที่นอนลมแบบลอนและที่นอนแบบรังผึ้ง โดยในบทความนี้ทางร้าน Dowell สินค้าสุขภาพของเราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับที่นอนลมแบบลอนกันว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และเหมาะสำหรับการใช้งานในผู้ป่วยหรือใครได้บ้าง

ทำความรู้จักกับที่นอนลมแบบลอนก่อนตัดสินใจใช้งาน

ที่นอนลมแบบลอนคือหนึ่งในประเภทของที่นอนลมสำหรับใช้เพื่อลดการเกิดปัญหาแผลกดทับ และช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะสวกสบายในการนอนเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยหลักการทำงานเพื่อลดแรงกดทับตลอดจนกระจายการรับน้ำหนัก ด้วยการอาศัยแรงปั๊มลมจากเครื่องปั๊มไฟฟ้าอัตโนมัติในการทำให้ตัวลอนของที่นอนมีการพองและยุบสลับกันไปตามรอบซึ่งมีการกำหนดเอาไว้ โดยระยะห่างในการทำงานก็อาจจะแตกต่างกันออกไปตามรุ่นหรือแบรนด์ผู้ผลิตที่ผู้ใช้งานเลือกนั่นเอง

ซึ่งข้อดีของที่นอนลมแบบลอนก็คือทำให้สามารถลดความเสี่ยงในการที่ผิวหนังหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายจะต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เนื่องจากตัวที่นอนจะมีการสลับการพองและยุบของที่นอนลมอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะคงที่เป็นจังหวะเพื่อลดแรงกดทับบริเวณผิวสัมผัสระหว่างผู้ป่วยกับที่นอนได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับที่นอนลมแบบลอนที่ใช้กันทั่วไปก็ยังสามารถเลือกปรับระดับความแข็งและนุ่มของที่นอนได้ตามที่ต้องการอีกด้วย โดยใครที่สนใจใช้งานที่นอนลมแบบลอนก็จำเป็นจะต้องพิจารณาองค์ประกอบในการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้

1.ที่นอนลมนั้นสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไหร่

2.มีมาตรฐานรับรองหรือไม่

3.อุปกรณ์ที่แถมมีการรับประกันเชื่อถือได้หรือไม่

4.ร้านค้าหรือตัวแทนจำหน่ายต้องสามารถระบุตัวตนและติดต่อได้จริง

5.เมื่ออุปกรณ์เกิดปัญหาหรือชำรุดต้องติดต่อส่งซ่อมหรือมีผู้ให้คำปรึกษา

6.ประเมินความต้องการและข้อจำกัดในการใช้งาน

7.สะดวกหรือไม่หากต้องมีการใช้ไฟฟ้าตลอดการใช้งาน

ที่นอนลมแบบลอนเหมาะกับใครบ้าง

สำหรับผู้ที่สามารถใช้งานที่นอนลมหรือมีความจำเป็นในการใช้ที่นอนลมแบบลอนเพื่อเป็นตัวช่วยในการใช้ชีวิตนั้น ก็คงจะต้องหนีไม่พ้นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุตลอดจนผู้ที่มีน้ำหนักมากซึ่งมักจะมีปัญหาในเรื่องของแผลกดทับ เจ็บปวดบริเวณที่รับน้ำหนักมากเกินเวลานอนเช่นบริเวณสะโพกหรือก้นกบเป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือผู้ป่วยในลักษณะของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทรา

ในขณะเดียวกันการใช้งานอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยอย่างที่นอนลมแบบลอนนั้น ก็จำเป็นจะต้องศึกษาและระวังให้ดีเนื่องจากไม่ใช่ทุกคนจะสามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ, ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บเกี่ยวกับไขสันหลัง, ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือมีการแตกหักของกระดูกในบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับ :ซึ่งจำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานที่นอนลม เนื่องจากตัวแรงดันจากปั๊มลมที่ทำงานอยู่นั้นอาจจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระดูกหรือส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายบริเวณดังกล่าวได้นั่นเอง

ตอบคำถามคาใจที่นอนลมแบบไหนดีที่สุด

ก่อนอื่นเราทุกคนต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าที่นอนลมที่นิยมใช้งานกันมาในปัจจุบันนั้น มีทั้งในรูปแบบของที่นอนลมแบบลอนซึ่งเราได้อธิบายไปแล้ว และก็ยังมีที่นอนลมในอีกหนึ่งประเภทสำหรับการใช้งานเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ ตลอดจนช่วยในเรื่องของปัญหาเกี่ยวกับการนอนของผู้สูงอายุที่ก็ได้รับความสนใจจากผู้ใจงานไม่แพ้กันนั่นก็คือที่นอนลมรังผึ้ง 

เพราะฉะนั้นการจะตัดสินว่าที่นอนลมแบบไหนดีที่สุดได้ ก็คงต้องตัดสินจากความตอบโจทย์ในด้านการใช้งานหรือประสบการณ์ด้านการใช้งานของแต่ละบุคคล เนื่องจากถึงแม้ว่าที่นอนทั้งสองประเภทจะมีฟังก์ชันการใช้งานซึ่งคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการกระจายน้ำหนัก, ลดแรงกดทับ, กลไกการทำงานโดยเน้นการสลับพองและยุบของตัวที่นอน, หรือมีการใช้ปั๊มลมไฟฟ้าในการทำงาน แต่ถึงอย่างนั้นในด้านของรูปร่างลักษณะจากการออกแบบ ตลอดจนความสะดวกในการซ่อมแซมอุปกรณ์เมื่อเกิดการรั่วซึมเสียหายก็ยังถือว่ามีความต่างกันอยู่บ้างพอสมควรเลยนั่นเอง 

เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจอยากจะใช้งานที่นอนลมทั้งสองประเภทเพื่อลดปัญหาแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุจึงจำเป็นจะต้องลองเปรียบเทียบการใช้งาน รวมไปถึงพิจารณาเรื่องความสะดวกของผู้ใช้งานในแต่ละบุคคลประกอบการตัดสินใจก่อนทุกครั้งด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *